Welcome my friends to in wonderland ขอต้อนรับทุกคนสู่โลกแห่งจินตนาการที่เต็มไปด้วยสิ่งที่นอกเหนือความเป็นจริง

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คุณธรรมนำจิตใจ

     นวันอังคาร ที่ 17 พฤษภาคม เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง คือ วันวิสาขบูชา นั้นเอง ชมรมศิลปะของพวกเราก็มีกิจกรรมดีอีกแล้วนั้นคือ บำเพ็ญประโยชน์เก็บขยะตามท้องถนน ^^ 
เป็นโอกาสที่ดีมากเลยที่ได้ทำบุญ ทำกุศล ครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งและพอตกเย็น ได้ปีนเขา ไม่ใช่สิ ได้ขึ้นไปบนยอดเขาตังกวน ได้ไปปฏิบัติพิธีทางศาสนา นั้นก็คือ เวียนเทียน รู้สึกสดชื่นมากเลย อากาศดีลมเย็นสบายแต่แอบมึนหัวนิดหน่อย กลิ่นธูปฟุ่งกระจายกันเลยทีเดียว ทำไมเราต้องเวียนเทียน มีความสำคัญอย่างไร เรามารู้ด้วยกันเลยครับ

วันวิสขบูชา
ความหมาย
วันวิสาขบูชา มายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะหรือเดือน ๖
เนื่องในโอกาสวันประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า

ความสำคัญ
พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานเวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ จึงถือว่าเป็นวันที่สำคัญของพระพุทธเจ้า หลักธรรมอันเกี่ยวเนื่องจากกาประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ ๔ และความไม่ประมาท 

 วันวิสาขบูชา ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี 
ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๒๐ พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกา 
ในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่



วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Like สาระดีบุคคลน่ารู้ ??

ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษผู้สร้างประชาธิปไตยของไทย


ประวัติ
        ายปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443 ทางด้านใต้ของคูเมืองอยุธยา ราชธานีเก่าแห่งสยาม ท่านเป็น บุตรชายคนโตของครอบครัวกสิกรฐานะดีสำเร็จการศึกษาระดับมัฐยม 
    เมื่ออายุเพียง 14 ปี ซึ่งเยาว์เกินกว่าจะเรียนต่อในสถาบันการศึกษาขั้นสูงได้ นายปรีดีจึงช่วยครอบครัวทำนาที่อำเภอวังน้อยอีก 2 ปี ก่อนที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนกฎหมายใน ปี 2460 2 ปีต่อมาจึงสำเร็จเป็นเนติบัณฑิต พร้อมกับได้รับทุนจากกระทรวงยุติธรรมให้ ไปศึกษาต่อด้านกฎหมาย ที่ประเทศฝรั่งเศสในปี 2463 ท่านได้รับปริญญารัฐเป็น ” บาเชอลิเยอร์” กฏหมาย และ “ลิซองซิเย" กฏหมาย จาก มหาวิทยาลัยก็อง และในปี 2469 ได้รับ ปริญญารัฐเป็นดุษฎีบัณฑิตกฎหมายฝ่ายนิติศาสตร์ และประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในทางเศรษฐกิจจากมหาวิทยาลัยปารีส เป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษา ระดับนี้ หลังจากกลับสู่สยาม ได้หนึ่งปี ในเดือนพฤศจิกายน 2471 นายปรีดีได้สมรสกับ นางสาวพูนศุข ณ ป้อมเพชร์ มีบุตรธิดาด้วยกันหกคน
ชีวิตการเมือง
        ในเดือนกุมภาพันธ์ 2470 ระหว่างที่ยังศึกษาอยู่ในกรุงปารีส นายปรีดีและนักเรียนไทยพร้อมทั้งข้าราชการไทย อีกหกท่าน ซึ่งต่อมาได้เป็นแกนนำของคณะราษฎรได้จัดประชุมครั้งประวัติศาสตร์ขึ้น พวกเขาได้ตั้งปณิธาน ร่วมกันในอันที่จะเปลี่ยนระบอบการปกครองการสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบกษัตริย์ที่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ คณะดังกล่าวได้เลือกนา
ยปรีดีเป็นผู้นำชั่วคราว คณะราษฎรได้วางหลักหกประการเป็นเป้าหมายเพื่อนำความก้าวหน้าทั้ง ด้านวัตถุ และจิตใจสู่สยาม อันได้แก่
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ ให้มั่นคง
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจโดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ ราษฎรทุกคนทำจะวางโครงการ เศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวข้างต้น
6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

    ท่านผู้ก่อร่างระบอบสังคมและการเมืองแบบใหม่ในประเทศไทย ในฐานะที่เป็นผู้นำสายพลเรือนของคณะราษฎร และเป็นผู้เตรียมการทั้งหมดในด้านการบริหารระบอบใหม่ ในการปฏิวัติ 2475 นอกจากนี้ ยังเป็นบุคคลสำคัญ ในการวางรากฐานระบอบการคลังสมัยใหม่ เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการเจรจากับต่างประเทศให้ประเทศสยามได้เอกราชสมบูรณ์ และ ต่อมาเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นเข้ายึดประเทศไทย ปรีดี พนมยงค์ ก็ยังเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยในการต่อต้านญี่ปุ่นและมีส่วนทำให้ประเทศไทย พ้นจากการยึดครองโดยตรงของฝ่ายพันธมิตร
    
นอกจากนี้คุณงามความดีที่ทำมาในอดีตของนายปรีดี ก็มีผู้นำมาศึกษาและเผยแพร่มากขึ้น หลัง จากที่ใช้ชีวิตอย่างสงบอยู่ชานกรุงปารีสมานาน ๑๓ ปี ปรีดี พนมยงค์ ก็ถึงแก่กรรมในวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. 2526รวมอายุได้ 86 ปี ชีวิตของ ปรีดี พนมยงค์ สรุปความได้ว่า "คือผู้อภิวัฒน์การปกครองของประเทศไทย หัวหน้าขบวนการเสรีไทย เป็นผู้มีคุณูปการแก่ชาติ อย่างมากมาย แต่กลับกลายเป็นบุคคลที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีมากที่สุดคนหนึ่ง ในประวัติศาสตร์ สุดท้ายกลายเป็น "คนดี" ที่เมืองไทยไม่ต้องการและเมื่อถึงแก่กรรมก็ได้ฟื้นเกียรติคืนมา" ซึ่งพวกเราควรศึกษาและนำเป็นบุคคลตัวอย่าง มาปรับใช้ในการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเรา สิ่งไหนที่ผิดพลาดเราควรไตรตรองให้ดีเสียก่อน
 

Like สาระดีมีความรู้ ??

 ประเทษอียิปต์

          อียิปต์ เป็นประเทศทีมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ถึง 5,000 กว่าปี ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1882 อังกฤษส่งเรือรบไปยังเมืองท่าอเล็กซานเดรีย และยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้ประกาศว่าอียิปต์เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวอียิปต์ที่รักชาติได้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช ใน ค.ศ. 1922 อังกฤษได้ให้เอกราชแก่อียิปต์ โดยเมื่อแรกรับเอกราช อียิปต์ได้ปกครองโดยราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี ที่สืบเชื้อสายจากสุลต่านแห่งอียิปต์ โดยสุลต่านฟูอัด ได้สถาปนาพระองค์เป็น พระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ และปกครองต่อมาอีกสองพระองค์คือ พระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ และพระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ ก็เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี และระบอบกษัตริย์แห่งอียิปต์ โดยได้มีการทำรัฐประหารเป็นระบอบสาธารณรัฐจนถึงปัจจุบัน
    ประเพณีวัฒนธรรม
ลักษณะของคนอียิปต์
โดยทั่วไปคนอียิปต์ที่มีการศึกษาที่ดีสามารถพูดภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่นๆ ได้และผู้เดินทางท่านใดที่สามารถพูดภาษาอาหรับแม้เพียงไม่กี่คำก็เอาตัวรอดได้ เนื่องจากคนพื้นเมืองโดยทั่วไปมีประเพณีการต้อนรับแขกมาตั้งแต่โบราณแล้ว
        คนอียิปต์เป็นคนที่มีอัธยาศัยดี คุ้นเคยต่อนักท่องเที่ยว กระตือรือร้นที่จะทักทายกับชาวต่างชาติโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ และมักจะยินดีที่นักท่องเที่ยวมาเยือนอียิปต์ ในการสนทนา คนอียิปต์มักจะสบตากับคู่สนทนาเพื่อเป็นการให้เกียรติ  และ ชอบใช้สัญลักษณ์ เช่นการใช้สัญญาณมือประกอบการอธิบายต่างๆ  นอกจากนี้ สุภาพสตรีควรหลีกเลี่ยงการถูกสัมผัสตัวโดยเฉพาะจากเพศตรงข้าม   และการโอบกอดในที่สาธารณะ

วันสำคัญของอียิปต์

วันที่
23 กรกฎาคม เป็นวันชาติ (Revolution Day) ของอียิปต์
วันที่
28 กุมภาพันธ์เป็นวันประกาศเอกราชจากอังกฤษ (เมื่อปี ค..1953)
วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย

   เนื่องจากอียิปต์เป็นประเทศที่มีผู้คนมากหมายต่างความเชื่อ ต่างวัฒนธรรมทำให้วัฒนธรรมการแต่งกายของคนอียิปต์มีความแตกต่างโดยมีพื้นฐานทางด้านความเชื่อเช่นมุสลิม คริสต์เตียน ยิว 
       
 
สตรี       ผู้หญิงจำนวนมากในประเทศอียิปต์เป็นคนสวย  ผู้หญิงชาวอียิปต์เป็นคนที่ได้รับการศึกษาที่ดี เป็นคนทีใช้จ่ายเงินเก่งในอียิปต์ 85% จะ เก็บตัวเองเป็นผู้หญิงพรมจารี (หญิงบริสุทธิ์)จนกว่าพวกเขาจะได้แต่งงานนีคือคนสามัญชนที่ดีเยี่ยมในตะวัน ออกกลาง
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าผู้หญิงส่วนมากสวมผ้าโพกหัวหรือสะพายไหล่ของสตรีซึ่งคลุม เฉพาะศีรษะแต่เปิดเผยใบหน้า และก็มีบางกลุ่มที่ปิดหน้าเผยให้เห็นแต่ดวงตา  เป็นธรรมดาของทุกวันนี้ทุกวันนี้ผู้หญิงในอียิปต์จำนวนมากสวมผ้าคลุ่มหัว ซึ่งเป็นการแสดงถึงความถ่อมตัวหรือมุสลิมที่เคร่งครัดในศาสนา
 

       บุรุษ    ผู้ชายในชนบทของประเทศอียิปต์จะแต่งชุดโตบและใส้จะสวมสารบานไว้บนหัวและคนที่มีอาชีพครูสอนศาสนาแต่คนในเมืองใหญ่เช่น  เมือง งอเล็กซานเดรีย และเมืองไคโรผู้คนส่วนใหญ่จะสวมเสื้อเชิดกางเกงและรองเท้าหนังโดยเฉพาะคนที่ ทำงานในงานบริการเช่น โรงแรมและธนาคาร

 อาหารหลักของคนอียิปต์
การกินอาหารของคนในตะวันออกกลางจะมีความแตกต่างมาก อาหารหลักของทุกชนชั้นของคนอียิปต์ นั้น คือ ขนมปัง  หัว หอม พวกผักต่างๆ แล้วก็ปลาแห้ง นอกจากนี้ คนอียิปต์จะมีน้ำเชื่อมซึ่ง ทำจากผลไม้  เพื่อให้ได้รสหวานและจะกินกับขนมปังซึ่งจะใช้ขนมปังจิ้มกับน้ำเชื่อม   และนอกจากขนมปังแล้วเขาจะกินโยเกิตย์พร้อมๆกับเมนูอาหารหลักอีกด้วยส่วน อาหารประเภทเนื้อสัตว์นี้ก็มี สัตว์ที่นิยมรับประทานก็คือพวก เนื้อแกะ แพะ และเนื้อวัว      
อาหารประเภทกาบับ ( Kabab ) ก็ เป็นเนื้อ หรือ แพะ ย่างโดยมีเหล็กแหลม เสียบชิ้นเนื้อโดยหมุนชิ้นเนื้อให้ไฟเลียไปทั่วๆ กินกับผักทั้งผักสดเช่น แตงกวา มะเขือเทศ ต้นหอม กับผักดองเช่น แตงกวา มะเขือเปาะ หัวหอม แครอท