Welcome my friends to in wonderland ขอต้อนรับทุกคนสู่โลกแห่งจินตนาการที่เต็มไปด้วยสิ่งที่นอกเหนือความเป็นจริง

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Like สาระดีบุคคลน่ารู้ ??

ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษผู้สร้างประชาธิปไตยของไทย


ประวัติ
        ายปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443 ทางด้านใต้ของคูเมืองอยุธยา ราชธานีเก่าแห่งสยาม ท่านเป็น บุตรชายคนโตของครอบครัวกสิกรฐานะดีสำเร็จการศึกษาระดับมัฐยม 
    เมื่ออายุเพียง 14 ปี ซึ่งเยาว์เกินกว่าจะเรียนต่อในสถาบันการศึกษาขั้นสูงได้ นายปรีดีจึงช่วยครอบครัวทำนาที่อำเภอวังน้อยอีก 2 ปี ก่อนที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนกฎหมายใน ปี 2460 2 ปีต่อมาจึงสำเร็จเป็นเนติบัณฑิต พร้อมกับได้รับทุนจากกระทรวงยุติธรรมให้ ไปศึกษาต่อด้านกฎหมาย ที่ประเทศฝรั่งเศสในปี 2463 ท่านได้รับปริญญารัฐเป็น ” บาเชอลิเยอร์” กฏหมาย และ “ลิซองซิเย" กฏหมาย จาก มหาวิทยาลัยก็อง และในปี 2469 ได้รับ ปริญญารัฐเป็นดุษฎีบัณฑิตกฎหมายฝ่ายนิติศาสตร์ และประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในทางเศรษฐกิจจากมหาวิทยาลัยปารีส เป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษา ระดับนี้ หลังจากกลับสู่สยาม ได้หนึ่งปี ในเดือนพฤศจิกายน 2471 นายปรีดีได้สมรสกับ นางสาวพูนศุข ณ ป้อมเพชร์ มีบุตรธิดาด้วยกันหกคน
ชีวิตการเมือง
        ในเดือนกุมภาพันธ์ 2470 ระหว่างที่ยังศึกษาอยู่ในกรุงปารีส นายปรีดีและนักเรียนไทยพร้อมทั้งข้าราชการไทย อีกหกท่าน ซึ่งต่อมาได้เป็นแกนนำของคณะราษฎรได้จัดประชุมครั้งประวัติศาสตร์ขึ้น พวกเขาได้ตั้งปณิธาน ร่วมกันในอันที่จะเปลี่ยนระบอบการปกครองการสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบกษัตริย์ที่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ คณะดังกล่าวได้เลือกนา
ยปรีดีเป็นผู้นำชั่วคราว คณะราษฎรได้วางหลักหกประการเป็นเป้าหมายเพื่อนำความก้าวหน้าทั้ง ด้านวัตถุ และจิตใจสู่สยาม อันได้แก่
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ ให้มั่นคง
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจโดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ ราษฎรทุกคนทำจะวางโครงการ เศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวข้างต้น
6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

    ท่านผู้ก่อร่างระบอบสังคมและการเมืองแบบใหม่ในประเทศไทย ในฐานะที่เป็นผู้นำสายพลเรือนของคณะราษฎร และเป็นผู้เตรียมการทั้งหมดในด้านการบริหารระบอบใหม่ ในการปฏิวัติ 2475 นอกจากนี้ ยังเป็นบุคคลสำคัญ ในการวางรากฐานระบอบการคลังสมัยใหม่ เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการเจรจากับต่างประเทศให้ประเทศสยามได้เอกราชสมบูรณ์ และ ต่อมาเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นเข้ายึดประเทศไทย ปรีดี พนมยงค์ ก็ยังเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยในการต่อต้านญี่ปุ่นและมีส่วนทำให้ประเทศไทย พ้นจากการยึดครองโดยตรงของฝ่ายพันธมิตร
    
นอกจากนี้คุณงามความดีที่ทำมาในอดีตของนายปรีดี ก็มีผู้นำมาศึกษาและเผยแพร่มากขึ้น หลัง จากที่ใช้ชีวิตอย่างสงบอยู่ชานกรุงปารีสมานาน ๑๓ ปี ปรีดี พนมยงค์ ก็ถึงแก่กรรมในวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. 2526รวมอายุได้ 86 ปี ชีวิตของ ปรีดี พนมยงค์ สรุปความได้ว่า "คือผู้อภิวัฒน์การปกครองของประเทศไทย หัวหน้าขบวนการเสรีไทย เป็นผู้มีคุณูปการแก่ชาติ อย่างมากมาย แต่กลับกลายเป็นบุคคลที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีมากที่สุดคนหนึ่ง ในประวัติศาสตร์ สุดท้ายกลายเป็น "คนดี" ที่เมืองไทยไม่ต้องการและเมื่อถึงแก่กรรมก็ได้ฟื้นเกียรติคืนมา" ซึ่งพวกเราควรศึกษาและนำเป็นบุคคลตัวอย่าง มาปรับใช้ในการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเรา สิ่งไหนที่ผิดพลาดเราควรไตรตรองให้ดีเสียก่อน
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น